Amateur radio direction finding




 ARDF Championships,Krabi,THAILAND 2024
24-25 Feb 2024
การแข่งขันค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุ กระบี่ ARDF(Amateur radio direction finding) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2567 มีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน กว่า 40 ทีม

.

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อบต.หนองทะเล ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ มอบหมายให้ 

นายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่  

เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุ กระบี่ ARDF(Amateur radio direction finding) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2567 โดยมีนายสงวนศักดิ์ เพชรศรีทอง นายกสมาคมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดกระบี่ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายกิตติ กิตติธรกุล ส.ส.กระบี่ เขต 1 นายสุขกาย จันทร์อ่อน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทะเล  คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เข้าร่วมในพิธีเปิด


การแข่งขันค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุ กระบี่ ARDF (Amateur radiodirection finding) เป็นกิจกรรมหนึ่งของนักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยม กันทั่วโลก ผู้ทำการแข่งขันต้องใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการแพร่กระจายคลื่นวิทยุในสภาพแวดล้อมต่างๆ พร้อมทั้งคุณสมบัติของสายอากาศชนิดต่างๆ ในการค้นหาทิศทางของแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุที่วางซ่อนไว้หลายๆจุด โดยใช้อุปกรณ์เครื่องรับสัญญาณวิทยุความถี่ 144-147 MHz สายอากาศ แผนที่และเข็มทิศและใช้เวลาในการค้นหาให้น้อยที่สุด อีกทั้งในการแข่งขันเป็นการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันได้ออกกำลังกายให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง รวมถึงเป็นการฝึกฝนตนเองเพื่อปฏิบัติหน้าที่ข่ายการสื่อสารสำรองให้ความช่วยเหลือสังคมหากเกิดเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติเมื่อได้รับการร้องขอ

.

การแข่งขันค้นหาแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุ กระบี่ ARDF(Amateur radio direction finding) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2567  โดยมีนักวิทยุสมัครเล่นจาก 8 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่จังหวัดชลบุรี กรุงเทพมหานคร ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา และ 1 ประเทศเยอรมัน โดยจังหวัดกระบี่เป็นเจ้าภาพไม่มีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ และมีผู้เข้าร่วมแข่งขัน 490 คน รวม 45 ทีม 7 ประเภทคือ 

ประเภทชิงถ้วยพระราชทาน ประเภทรุ่นชมรม ประเภทรุ่นเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ประเภทรุ่นสุภาพสตรี ประเภทรุ่นอายุไม่เกิน 50 ปี ประเภทรุ่นอายุเกิน 60 ปี และประเภทโอเพ็น โดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดกระบี่ ร่วมกับจังหวัดกระบี่ และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ณ หาดคลองม่วง ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทะเล มีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน กว่า 40 ทีม








แผนที่จุดวาง FOX














ปีหน้าพบกันที่ สุราษฎร์ธานี
เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ



ผลการค้นหา








แกนเทอรอยด์ Toroids

แกนเทอร์รอยด์ เป็นอุปกรณ์อีกตัวที่เจอในการทำวงจรเครื่องรับและส่ง ซึ่งจะมีหลายสีและหลายขนาดคุณสมบัติในการใช้งานก็แตกต่างกัน ก็สามารถเลือกไปใช้งานตามความเหมาะสมในวงจรต่างๆ




คุณสมบ้ติและขนาด

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://toroids.info/T37-6.php


กระป๋อง IF

กระป๋อง IF ที่ใช้ในงานวิทยุ มีหลายสี หลายขนาด และคุณสมบัติที่แต่งต่างกันไปตามการใช้งาน



ข้อมูล กระป๋อง IF




อุปกรณ์ที่ใช้ในวงจร



DDS Generator V1.0

ทดลองใช้งานร่วมกับ บอร์ดเครื่องรับ ดีซี




DDS Generator สำหรับวิทยุสื่อสาร 
-ผลิตความถี่ได้ 1Hz-35MHz ความละเอียด 10Hz
-สามารถตั้งค่า IF ได้ เช่น 455KHz,,4.915MHz,,9MHz,,10.7MHz  อื่นๆอีกมากมาย
-แสดงผลด้วย จอ LCD ขนาด8ตัวอักษร 2 บรรทัด มีไฟส่องในตัว
-มีขาควบคุมสำหรับภาคส่ง
-ใช้ไฟเลี้ยง 12Vdc

วัตถุประสงค์การใช้งาน
-สำหรับการผลิตความถี่ ที่ต้องการความแม่นยำสูง
-ใช้ทดแทน VFO แบบเดิม ที่หยาบจนน่าเบื่อ เพราะต้องหมุนจูนช้าๆ มือสั่นพลาดทันที
-ใช้ทดแทน VFO แบบเดิม ที่ความกว้างของความถี่แสนจะแคบ เช่นเครื่อง QRP ทั่วๆไป 
-ใช้ทดแทน VFO แบบเดิม ที่เปิดเครื่องไปซักพัก ความถี่ก็จะเลื่อนไปๆมาๆ 
-อื่นๆ อีกมากมาย ตามแต่จะนำไปใช้


อธิบายการใช้งาน DDS Generator V1.0


ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก 153RT711/E217 

การทดลองโดยการใช้ dds generator ต่อแทนวงจรออสสิเลสเดิมของบอร์ดเครื่องรับแบบ ดีซี โดยเอาอุปกรณ์เดิมทั้งหมดออกที่ต่อ อยู่ที่ ขา 6 กับ 7 ของne602 แล้วต่อ dds เข้าที่ ขา6ของne602 
ได้ทดลองต่อความถี่ 21MHz กับ 14MHz




ประกอบเข้าด้วยกัน







ผลการทดลองเปิดรับ






มีข้อมูลที่จะแนะนำเพิ่มเติม ยินดีมากเลยครับ HS8FLU@gmail.com ขอบคุณครับ



รางวัล SWL



ในบางรายการ เขาให้นักฟังวิทยุทางไกล(SWL)สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ แต่อย่าลืมเราต้องไปดู กฏกติกาของแต่ละรายการ การแข่งขัน


รางวัลนี้ ผมได้ส่ง บัตรยืนยันการรับฟัง ที่สามารถรับฟังนักวิทยุสมัครเล่นของญี่ปุ่นได้ครบทุกเขต แต่นักวิทยุสมัครเล่นญี่ปุ่นต้องตอบกลับบัตรยืนยันการรับฟังของเราว่าถูกต้องกลับมาด้วย เพื่อจะได้ส่งไปขอรางวัล รายละเอียด เข้าไปดูเพิ่มเติม  http://www.jarl.or.jp/English/
สำหรับเพื่อนๆๆที่สนใจเริ่มจากการเป็นนักฟังวิทยุทางไกล มีอะไรได้เรียนรู้มากมาย จากการฟัง 


รางวัล ALL ASIAN DX CONTEST 2012



ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการลงแข่งขัน วิทยุสมัครเล่นขั้นกลางครับ และได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างในการแข่งขัน กฏกติกา สิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนในการแข่งขัน รูปแบบ วิธีการ และจะเข้าร่วมรายการอื่นๆๆอีกครับ

เครื่องรับ วิทยุสมัครเล่น 143-148MHz

มาสร้างและทดลอง ทำเครื่องรับ วิทยุสมัครเล่นกันครับ   ครั้งนี้ผมได้ให้คุณวรวุฒิ (HS8JYX) ออกแบบ แผ่นปริ๊นและสั่งทำ เพื่อเพื่อนๆๆที่สนใจ จะได้ทดลองกันครับ มาลงมือกันเลยครับ

ลายวงจร เครื่องรับ วิทยุสมัครเล่น


รายการอุปกรณ์

ตัวต้านทาน

470 โอห์ม                1   ตัว
10 K                         7   ตัว
68K                          2   ตัว
200K                        1   ตัว


ตัวเก็บประจุ

0.1uF 50V (104)     เซรามิก                    5    ตัว
0.01uF 50V(103)    เซรามิก                    4   ตัว
0.001uF50V(102)   เซรามิก                    2   ตัว
7pF  50V     เซรามิก                               1   ตัว
10pF  50V   เซรามิก*                             1   ตัว (สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้)
50pF 50V    เซรามิก                               1   ตัว
120pF 50V     เซรามิก                             1   ตัว
470pF 50V     เซรามิก                             1   ตัว
10uF   16V    อิเล็กทรอไลต์                    4   ตัว
220uF  16V   อิเล็กทรอไลต์                    1   ตัว

อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ

MC3362P                           1    ตัว
78L06                                 1    ตัว
LM386                               1     ตัว
2N3906                              1     ตัว
2N3904                              1     ตัว
1N4004                              1     ตัว

อื่นๆ

กระป๋อง IF 455 kHz                                                                   1    ตัว
แร่  10.245 MHz                                                                         1    ตัว
เซรามิกฟิลเตอร์ 10.7 MHz 3 ขา                                                1    ตัว
เซรามิกฟิลเตอร์  455 kHz   3 ขา                                               1    ตัว
L1-ขดลวดอาบน้ำยาพันบนแกน ขนาด 5 มม. 5 รอบ                 1    ตัว
L2-ลวดอาบน้ำยา พันบนแกนสลักจูน 2 รอบ                              1   ตัว
โวลลุ่ม  250K                                                                             1   ตัว
โวลลุ่ม   100K                                                                            1   ตัว
โวลลุ่ม   10K                                                                              1   ตัว
หลอดไฟ LED                                                                            2    หลอด
ซ็อกเก็ต IC 8 ขา                                                                        1    ตัว
ซ็อกเก็ต IC  24 ขา                                                                     1    ตัว  

การพันขดลวด  L1 


ตัวอย่างแกนสลักจูน L2   
การนำไปใช้งานแกะลวดเก่าออกให้หมด แล้วนำลวดอาบน้ำยามาพันใหม่                   




ตัวอย่างการพันแกนสลักจูน
เริ่มแรกต้องขูดน้ำยาที่อาบลวดเอาไว้ ที่ปลายลวด สักประมาณ 1 ซม. แล้วนำไปบัดกรีกับขา แกนสลักจูน จากนั้นก็พันบนแกน 2 รอบ พอได้ครบรอบแล้ว  ก็ขูดน้ำยาออกที่ปลายลวด แล้วก็นำไปบัดกรีกับขา  สลักจูนอีกข้าง ดังรูปที่แสดง




แผ่นปริ๊นที่ออกแบบครั้งที่ 1





รูปการลงอุปกรณ์





แผ่นปริ๊นที่ออกแบบครั้งที่ 2 และได้มีการแก้ไขในบางส่วน

การพันขดลวดบนแกนสลักจูน







เนื่องจากมีการปรับปรุงเล็กน้อย ผมได้ทำคู่มือไว้ให้ทั้ง 2 แบบ ทั้งแผ่นปริ๊นครั้งที่1และ 2 การปรับรับความถี่ก็ได้อธิบายไว้ในคู่มือแล้วครับ
สำหรับแผ่นปริ๊นครั้งที่ 1
https://docs.google.com/file/d/0B_kc58MWMKxEWGhHRlMyTUhVemM/edit
สำหรับแผ่นปริ๊นครั้งที่ 2
https://docs.google.com/file/d/0B_kc58MWMKxEU2tYeHBacC10LXc/edit




การปรับแต่ง
เมื่อเปิดเครื่องแล้ว ลองหมุนโวลลุ่มเสียงจะมีเสียงซ่า ถ้าไม่มีเสียงให้ดูโวลลุ่มสเควลช์ให้หมุนไปทางขวาและหลอดไฟจะติด หลอดที่อยู่ข้าง กระป๋อง IF  แล้วก็หมุนแกน กระป๋อง IF ให้มีเสียงซ่าดังที่สุดลองปรับหมุนไปมาได้ ต่อสายอากาศ แล้วลองหมุนโวลลุ่มตัวปรับความถี่ไปทางขวาเลยกึ่งกลางไปเล็กน้อย แล้วค่อยๆๆหมุนแกนสลักจูน จนสามารถรับสัญญาณสถานีใดสถานีหนึ่งได้ แล้วลองค่อยๆๆหมุนหมุนโวลลุ่มปรับความถี่ให้รับให้ชัด แล้วลองเทียบกับเครื่องที่มีอยู่ว่า ความถี่ไหน จะได้รู้ว่าช่วงความถี่ที่หมุนจะเริ่มจาก 144-146 อยู่ที่ช่วงไหนครับ แต่ถ้ายังไม่เจอความถี่ที่ต้องการเราสามารถเพิ่มหรือลด จำนวนรอบที่พันแกนสลักจูน หรือ เปลี่ยนค่าตัวเก็บประจุ ซีแบบ เซรามิกที่ต่อร่วมกับแกนสล้กจูนได้ครับ
ทดลองกันดูครับ
ส่วน R1กับR2 นั้นจะเป็นตัวกำหนดความกว้างของช่วงความถี่  ถ้าไม่ใส่จะทำให้รับได้กว้างมาก ซึ่งถ้าช่วงความถี่กว้างทำให้เรา ปรับจูนได้ยากเพราะความถี่อยู่ไกล้กัน ดังนั้นจึงกำหนดขอบเขตการรับด้วย R1กับR2 ซึ่งR1จะเป็นตัวกำหนดความถี่ต่ำสุด และR2จะเป็นตัวกำหนดความถี่สูงสุด ของช่วงความถี่ที่เราต้องการ ของผมเองใช้ 10K ทั้ง สองตัว ความกว้างของช่วงความถี่ ประมาณ 5MHz  เวลาปรับหาความถี่จะได้หมุนหาไม่ยากครับ



ตัวอย่างการปรับจูน






ตัวอย่างกล่อง



ผลการรับฟัง






ผลการรับฟังหลังจากการปรับปรุงและแก้ไข






ขอให้สนุกกับการทดลองนะครับ วิทยุสมัครเล่นมีมากกว่าที่คุณคิด